วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คำอาราธนาพระปริตร


คำอาราธนาพระปริตร

วิปัตติปะฏิพาหายะ             สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา
สัพพะทุกขะ วินาสายะ        ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย โปรดสวดพระปริตรอันเป็นมงคล  เพื่อป้องกันความวิบัติทั้งปวง
เพื่อยังสมบัติทั้งปวงให้สำเร็จ เพื่อให้ความทุกข์ ทั้งปวงจงพินาศสูญไป

วิปัตติปะฏิพาหายะ             สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา
สัพพะภะยะ วินาสายะ        ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย โปรดสวดพระปริตรอันเป็นมงคล  เพื่อป้องกันความวิบัติทั้งปวง
เพื่อยังสมบัติทั้งปวงให้สำเร็จ เพื่อให้อุบัติภัย อันตราย ทั้งปวงจงพินาศสูญไป

วิปัตติปะฏิพาหายะ             สัพพะสัมปัตติ สิทธิยา
สัพพะโรคะ วินาสายะ          ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง
ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย โปรดสวดพระปริตรอันเป็นมงคล  เพื่อป้องกันความวิบัติทั้งปวง
เพื่อยังสมบัติทั้งปวงให้สำเร็จ เพื่อให้โรคภัย ความเจ็บป่วยทั้งปวงจงพินาศสูญไป

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ฉัททันตะปริตร


ฉัททันตะปริตร


วะธิสสะเมนันติ  ปะรามะสันโต
     พระยาช้างโพธิสัตว์ ได้จับพรานไพร ด้วยหมายว่าเราจักฆ่ามัน

กาสาวะมัททักขิ  ธะชัง  อิสีนัง
      ครั้นได้เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ อันเป็นธงของพวกฤษี

ทุกเขนะ  ผุฏฐัสสุทะปาทิ  สัญญา
     สัญญาได้เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์ผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว

อะระหัทธะโช  สัพภิ  อะวัชฌะรูโป
     ว่าธงชัยของพระอรหันต์ มีรูปอันสัตบุรุษหาควรฆ่าไม่

สัลเลนะ  วิทโธ  พยะถิโตปิ  สันโต
     แม้พระโพธิสัตว์ถูกศร ควรจะหวั่นไหว แต่เป็นผู้สงบระงับได้

กาสาวะวัตถัมหิ  มะนัง  นะ  ทุสสะยิ
     ไม่ทำใจประทุษร้ายในผ้ากาสาวพัสตร์

สะเจ  อิมัง  นาคะวะเรนะ  สัจจัง
     ถ้าคำนี้ อันพระยาช้างกล่าวจริงแล้ว

มา  มัง  วะเน  พาละมิคา  อะคัญฉุนติฯ
     ขอเหล่าพาลมฤคในไพร อย่าได้กล้ำกลายตัวเรา ดังนี้


โพชฌังคปริตร (Pochangkaparitra)

                     โพชฌังคปริตร ถือเป็นพุทธมนต์ที่ช่วยให้คนป่วยที่ได้สดับตรับฟังธรรมบทนี้แล้วสามารถหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ที่เชื่ออย่างนี้เพราะมีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธ พระองค์ทรงแสดงสัมโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะ พบว่า พระมหากัสสปะสามารถหายจากโรคได้



                อีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธ หลังจากนั้น พบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้ ในที่สุด เมื่อพระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร
                พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรคได้ ซึ่งในพระไตรปิฎกกล่าวว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา เป็นธรรมชั้นสูง ซึ่งเป็นความจริงในเรื่องการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน จึงทำให้หายจากโรคได้
                 หลักธรรมของโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น เพราะโพชฌงค์แปลว่าองค์แห่งโพธิหรือองค์แห่งโพธิญาณเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา


                  โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
                 โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน

 "โพชฌังคปริตร" 

ตั้งจิตอยู่ในอาการสงบ แล้วสวด นะโม ๓ จบ ตั้งจิตอธิษฐาน ถึงพระองค์ท่าน แล้วสวดดังนี้

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
(โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์)

วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
(วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์)

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา
(สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์)

สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา
(7ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว)

ภาวิตา พะหุลีกะตา
(อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว)

สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา
(ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน)

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
(ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้)

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
(ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ)

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา
(ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก)

โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
(จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง)

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา
(ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม)

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ 
(โรคก็หายได้ในบัดดล)

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
(ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้)

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
(ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ)

เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต
(ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก)

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
(รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ)

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส
(ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน)

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ 
(ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้)

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา
(ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ)

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง
(ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง 3 องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก)

มัคคาหะตะกิเลสาวะ  ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
(ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา)

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
(ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้)

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา.
(ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ)



ขออนุญาตคุณครูนำเสียงขับร้องและทำนองมาเผยแพร่ต่อนะค่ะ
*** คุณครู กัญญนัทธ์ ศิริ  เจ้าของประพันธ์ทำนอง / ขับร้อง ***
(ขอขอบคุณ คุณครูกัญญนัทธ์ ศิริ ขอให้บุญกุศลแห่งการสร้างทำนองเพลงสวดนี้ นำความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม สำเร็จตามที่คุณครูปรารถนาทุกประการด้วยเทอญ)