วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทสวดมนต์ชุมนุมเทวดา (สัคเค กาเม)



บทสวดมนต์ชุมนุมเทวดา (สัคเค กาเม)

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
           ขอเชิญเหล่าเทพเจ้าซึ่งสถิตย์อยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี และภุมมเทวดา 
           ซึ่งสถิตย์อยู่ในวิมานหรือยอดเขาและหุบผา ในอากาศก็ดี

ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
           ในเกาะก็ดี ในแว่นแคว้นก็ดี ในบ้านก็ดี ในต้นพฤกษาและป่าชัฏก็ดี ในเรือนก็ดี 
           ในที่ไร่นาก็ดี

ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
           เทพยดาทั้งหลาย ซึ่งสถิตย์ตามภาคพื้นดิน รวมทั้งยักษ์ คนธรรพ์และพญานาค
           ซึ่งสถิตย์อยู่ในน้ำ บนบก และที่อันไม่ราบเรียบ ก็ดี

ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ
           ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้ คำใดเป็นของพระมุนีผู้ประเสริฐ 
           ท่านสาธุชนทั้งหลาย จงสดับคำข้าพเจ้านั้น

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
           ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
           ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
            ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม




วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บูชาพระรัตนตรัย


บทสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย



อิมินาสักกาเรนะ พุทธังอะภิปูชะยามิ 
 ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระพุทธ 

 อิมินาสักกาเรนะ ธัมมังอะภิปูชะยามิ 
 ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระธรรม 

 อิมินาสักกาเรนะ สังฆังอะภิปูชะยามิ 
 ข้าพเจ้าขอกราบไหว้บูชาพระสงฆ์


บทกราบพระรัตนตรัย, บทนมัสการพระรัตนตรัย, บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ


บทกราบพระรัตนตรัย


            อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
                พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง
                ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

            พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
                ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

            สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
                พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

            ธัมมัง นะนัสสามิ.
                ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

            สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

            สังฆัง นะมามิ.
                ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)

-----------------------------------------------------------------
บทนมัสการ พระรัตนตรัย

        * นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
                ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
           อะระหะโต, 
                ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
           สัมมาสัมพุทธัสสะ, 
                เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)

        *  นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
                ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
           อะระหะโต, 
                ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
           สัมมาสัมพุทธัสสะ, 
                เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)

        * นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
                ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
           อะระหะโต, 
                ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
           สัมมาสัมพุทธัสสะ, 
                เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)

-----------------------------------------------------------------
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส )
สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี )
โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
สัตถา เทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม )
ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้แปดบุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย ( เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย ( เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเณยโย ( เป็นผู้ควรได้รับทักษิณาทาน )
อัญชะลีกะระณีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )


พระรัตนตรัย หรือ พระไตรรัตน์ แปลว่า แก้ว ๓ ดวง, แก้ว ๓ อย่าง ที่เรียกว่า รัตนะ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี

พระรัตนตรัย  คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
                        ซึ่งเรียกเต็มว่า  พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
ซึ่งได้แก่
พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมแล้วสอนให้ประชาชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตาม พระวินัย ที่เรียกว่า พระพุทธเจ้า
พระธรรม คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย

นมัสการไตรสรณคมน์


นมัสการไตรสรณคมน์


ไตรสรณคมน์ แปลว่า การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ได้แก่การเปล่งวาจาขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งพิงที่ระลึกว่า

พุทฺธัง สรณัง คัจฺฉามิ
ธัมฺมัง สรณัง คัจฺฉามิ
สังฺฆัง สรณัง คัจฺฉามิ

ทุติยัมฺปิ พุทฺธัง สรณัง คัจฺฉามิ
ทุติยัมฺปิ ธัมฺมัง สรณัง คัจฺฉามิ
ทุติยัมฺปิ สังฺฆัง สรณัง คัจฺฉามิ

ตติยัมฺปิ พุทฺธัง สรณัง คัจฺฉามิ
ตติยัมฺปิ ธัมฺมัง สรณัง คัจฺฉามิ
ตติยัมฺปิ สังฺฆัง สรณัง คัจฺฉามิ

ไตรสรณคมน์  เป็นการน้อมกาย วาจา ใจ นำพระรัตนตรัยเข้าไปไว้ในตน เพื่อแสดงว่าตนมีพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกนึกถึงและเป็นที่พึ่งตลอดไป และแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา

------------ความหมาย----------------

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
           ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
           ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
            ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
            แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
            แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
            แม้วาระที่ ๒ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
            แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
            แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
            แม้วาระที่ ๓ ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก


บทกราบพระรัตนตรัย


คำกล่าวนมัสการกราบพระรัตนตรัย
      เป็นการรำลึกถึงพระพุทธคุณเบื้องต้นก่อนสวดมนต์ บูชาพระ หรือทำพิธีการต่างๆ

อานิสงส์ของการสวดมนต์
  *  บำบัดทุกข์โศกโรคภัย รวมทั้งความรุ่มร้อนใจ
  *  ขจัดภัยอันตราย สิ่งชั่วร้ายที่จะพึงมี
  *  ปัดเป่าอุบาทว์ เสนียดจัญไร สิ่งอวมงคล
  *  ป้องกันภัยต่างๆ มีโจรภัย อัคคีภัย อสรพิษสัตว์ร้ายทั้งปวง
  *  ส่งเสริมให้เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ
  *  ให้แคล้วคลาดภัย ประสบความสวัสดี มีชัยเจริญงอกงามในชีวิต



***** บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, 
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ,
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

*****บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, 
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
อะระหะโต, 
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ  
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง(กราบ)
(๓ จบ )

*****บทสวดพุทธานุสสติ
อิติปิโส ภะคะวา 
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง 
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, 
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
วิชชาจะระณะ สัมปันโน, 
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุขโต 
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, 
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, 
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ 
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวาติ (กราบ)
เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.

**** บทสวดธัมมานุสสติ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก, 
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, 
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก, 
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก, 
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตนดังนี้

**** บทสวดสังฆานุสสติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, 
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, 
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย,
ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย, 
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเนยโย, 
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย, 
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้


วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นะมะการะสิทธิคาถา (โย จักขุมา)



บทสวดมนต์นะมะการะสิทธิคาถา (โย จักขุมา)
       นะมะการะสิทธิคาถา หรือ โยจักขุมา บทสวดมนต์นมัสการพระรัตนตรัย เพื่อให้สำเร็จในสิ่งปรารถนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธ์ใช้แทน “สัมพุทเธ” บทนี้ว่าด้วยคำนมัสการพระรัตนตรัย ว่าด้วยอานุภาพแห่งการทำความเคารพนอบน้อมต่อพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า ขอความมีชัย และความสำเร็จจงมีแด่ท่าน และ ขอให้อันตรายทั้งปวงจงถึงความพินาศไป

โย จักขุมา โมหะมะลาปะกัฏโฐ
สามัง วะ พุทโธ สุคะโต วิมุตโต
มารัสสะ ปาสา วินิโมจะยันโต
ปาเปสิ เขมัง ชะนะตัง วิเนยยัง ฯ
พุทธัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ
ตันเตชะสา เต ชะยะ สิทธิ โหตุ
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ

      (คำแปล)  ท่านพระองค์ใด มีพระปัญญาจักขุ ขจัดมลทิน คือโมหะเสียแล้ว ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยลำพังพระองค์เอง  เสด็จไปด้วยดีพ้นไปแล้ว ทรงเปลื้องชุมชนอันเป็นเวไนย จากบ่วงแห่งมาร นำมาให้ถึงความเกษม ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการพระพุทธเจ้าผู้บวรพระองค์นั้น ผู้เป็นที่พึ่งอันสูงสุดและเป็นผู้นำแห่งโลก  ด้วยเดชพระพุทธเจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งหลายทั้งปวง จงถึงความพินาศไป

ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ
ทัสเสสิ โลกัสสะ วิสุทธิมัคคัง
นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะ ธารี
สาตาวะโห สันติกะโร สุจิณโณ ฯ
ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
โมหัปปะทาลัง อุปะสันตะทาหัง
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัมพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ

      (คำแปล)  พระธรรมเจ้าใด เป็นดุจธงชัยแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น ทรงแสดงวิถีชีวิตแห่งความบริสุทธิ์แก่โลก  เป็นคุณธรรมอันนำให้พ้นยุคเข็ญ  คุ้มครองชนผู้ทรงธรรม ที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขความสงบมาให้  ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการพระธรรมอันบวรนั้น อันทำลายโมหะ ระงับความเร่าร้อน  ด้วยเดชพระธรรมเจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งปวง จงถึงความพินาศไป

สัทธัมมะเสนา สุ คะตานุโค โย
โลกัสสะ ปาปูปะกิเล สะเชตา
สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ
สวากขาตะธัมมัง วิทิตัง กะโรติ ฯ
สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
พุทธานุพุทธัง สะมะสีละทิฏฐิง
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ

     (คำแปล)  พระสงฆ์เจ้าหมู่ใด เป็นคณะสาวกของพระพุทธเจ้า  เป็นเสนาประกาศพระสัทธรรม ดำเนินชีวิตตามรอยพระศาสดาผู้เสด็จไปดีแล้ว ผจญเสียซึ่งอุปกิเลสอันเป็นเหตุเกิดทุกข์ของโลก  เป็นผู้สงบเองด้วย และย่อมประกอบนำผู้อื่นไว้ในความสงบด้วย ย่อมเผยแผ่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น ให้มีผู้รู้ตาม ข้าพเจ้าขอถวายนมัสการคณะพระสงฆ์เจ้าผู้ประเสริฐนั้น ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้ามีศีลและความเห็นชอบ (ทิฎฐิ) เสมอกัน  ด้วยเดชคณะพระสงฆ์เจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งปวง จงถึงความพินาศเทอญ.

นะโมการะอัฏฐะกะคาถา


บทสวดมนต์ นะโมการะอัฏฐะกะคาถา
บทสวดมนต์แสดงความนอบน้อมพระรัตนตรัย เพื่อให้เกิดเดชานุภาพ ในการเจริญพระพุทธมนต์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นะโม อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ มะเหสิโน
          ขอนอบน้อม แด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาซึ่งประโยชน์อันยิ่งใหญ่
นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สว๎ากขาตัสเสวะ เตนิธะ
ขอนอบน้อม แด่พระธรรมอันสูงสุด ในพระศาสนานี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ดีแล้ว
นะโม มะหาสังฆัสสาปิ วิสุทธะสีละทิฏฐิโน
ขอนอบน้อม แด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ อันเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า
ผู้มีศีลและความเห็นอันดีงามบริสุทธิ์หมดจด
นะโม โอมาต๎ยารัทธัสสะ ระตะนัตตะยัสสะ สาธุกัง
การนอบน้อม แด่พระรัตนตรัยที่ปรารภแล้วว่าโอม
และขึ้นต้นด้วยคำว่า อะ อุ มะ ดังกล่าวมาแล้วนั้นเป็นการดี
นะโม โอมะกาตีตัสสะ ตัสสะ วัตถุตตะยัสสะปิ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนทั้งสามนั้น อันล่วงพ้นจากโทษต่ำช้านั้นเสียได้
นะโม การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา
ด้วยอานุภาพ แห่งการกระทำความนอบน้อมนั้น
ขอสิ่งที่ไม่เป็นมงคลทั้งหลาย จงพินาศไป
นะโม การานุภาเวนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม
ขอความสุขสวัสดีมงคล จงบังเกิดมีตลอดกาลทุกเมื่อ
นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ เตชะวา ฯ
ด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อมนั้น
ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีเดช มีพลังในการประกอบมงคลพิธีด้วยเทอญ...ฯ





( - - การทำพิธี , การประกอบพิธีมงคล  (การสร้างกุศล) = พิธีกรรม  หมายถึง การกระทำที่มีเจตนาสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขให้เกิดขึ้น  โดยวิธีต่างๆ แต่ควรระวังว่าวิธีการที่ทำนั้น เกิดร่วมกับความคิดที่เป็นกุศล  ทำให้มีปัญญา  หรือความคิดที่เป็นกุศลที่ไม่มีปัญญา (อกุศล)  หรือเปล่า  ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้มาก - -)

พระคาถาพุทธชัยมงคลคาถา


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( ๓ จบ )


ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน 
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

 ************************************
พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะโสมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโร ปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท 
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา 
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิ วิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

*************************************************

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา
ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ
ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง 
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ 

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ 
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ 

*******************************************



บทชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา) (แปล) 
           ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (สามครั้ง)

            ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้ฟุ้งไปแล้ว อย่างนี้ว่า, 

            พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ทรงแจกจ่ายธรรม เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และ จรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เสด็จไปดี (คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม ***********************************************************

สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์ ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคิรีเมขล์ ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว ทรงชนะด้วยธรรมวิธีมีทานบารมี เป็นต้น และด้วยเดชะของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะอาฬวกยักษ์ผู้โหดร้ายบ้าคลั่ง น่าสพึงกลัว ซึ่งต่อสู้กับพระองค์ ตลอดทั้งคืนรุนแรงยิ่งกว่าพญามาร จนละพยศร้ายได้สิ้น ด้วยขันติธรรมวิธีอันพระองค์ได้ฝึกไว้ดีแล้ว และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญาช้าง ชื่อ นาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมันจัด ทารุณโหดร้ายยิ่งนัก ดุจไฟป่าจักราวุธและสายฟ้า ด้วยพระเมตตาธรรม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะมหาโจร ชื่อ องคุลีมาล ในมือถือดาบเงื้อง่าโหดร้ายทารุณยิ่ง วิ่งไล่ตามพระองค์ห่างออกไปเรื่อย ๆ เป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ ด้วยทรงบันดาลมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะคำกล่าวใส่ร้ายท่ามกลางชุมชน ของนางจิญจมาณวิกา ผู้ผูกท่อนไม้ซ่อนไว้ที่ท้องแสร้งทำเป็นหญิงมีครรภ์ ด้วยความจริง ด้วยความสงบเยือกเย็นด้วยวิธีสมาธิอันงาม และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้เชิดชูลัทธิของตนว่าจริงแท้อย่างเลิศลอย ราวกับชูธงขึ้นฟ้า ผู้มุ่งโต้วาทะกับพระองค์ ด้วยพระปัญญาอันเป็นเลิศดุจประทีปอันโชติช่วง ด้วยเทศนาญาณวิถี และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้หลงผิดและมีฤทธิ์มาก ด้วยทรงแนะนำวิธี และ อิทธิฤทธิ์แก่พระโมคคัลลานะ พระเถระภุชงค์ พุทธบุตร ให้ไปปราบจนเชื่อง และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

สมเด็จพระผู้มีพระภาค พระจอมมุนีทรงชนะพรหม ชื่อ ท้าวพูกะ ผู้รัดรึงทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดไว้แนบแน่น โดยสำคัญผิดว่าตนบริสุทธิ์มีฤทธิ์รุ่งโรจน์ด้วยวิธีวางยาอันวิเศษ คือ เทศนาญาณ และด้วยเดชของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

แม้นรชนใดไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ ทุกวัน 
ย่อมเป็นเหตุให้พ้นอุปัทวอันตรายทั้งปวง นรชนผู้มีปัญญาย่อมถึงซึ่งความสุขสูงสุดแล 
สิวโมกข์นฤพานอันเป็นเอกันตบรมสุข

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ 
ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
******************************************************************** 
พาหุงมหาการุณิโก คืออะไร


(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)


พาหุงมหากา คือ บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็ พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสะหัส จนไปถึง ทุคคาหะทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึง มหาการุณิโกนาโถหิตายะ และจบลงด้วย "ภะวะตุสัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธรรมา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต" อาตมาเรียกรวมกันว่า "พาหุงมหากาฯ" อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือ บทสวดมนต์ที่ สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไว้สวดเป็นประจำ เวลาอยู่กับพระบรมราชวัง และในระหว่างศึกสงคราม จึงปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้า ทรงรบ ณ ที่ใดทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมา มิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลย แม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่า ด้วยการกระทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากา ที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง อาตมาได้พบตามที่นิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมาด้วยความสบายใจ ถึงปากปล่องที่ลงไป เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาฯ ให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคีรี จากองคุลิมาล จากนางจิญมานวิกา จากสัจจะกะนิครนธ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มา ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรือง ตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้คุณโยมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ด้วยนะ ว่าให้สวดพาหุงมหากากันให้ถ้วนหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้วยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมาก ๆ เข้า สวดกันทั้งหลายประเทศ ก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า ไม่เพียงแต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น ที่พบความมหัศจรรย์ของพบพาหุงมหากา แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้ "เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม 
            ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย
หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง)ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก

            ประวัติต้นฉบับเดิมกล่าวว่า หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าค่ำแล้ว เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือน ก็ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก ๑๐๐ ปี อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกนานับปการ ฯ

             ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ญาติ-มิตรสหาย หรือสวดจนครบ ๗ วัน ครบอายุปัจจุบันของตน จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง ฯ

             ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบ กระดูกลอยน้ำได้



พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก 
             ก่อนเข้าห้องบูชาพระ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร

              จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุ


อานิสงส์การสร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นธรรมทาน
              โบราณท่านว่า ผู้ใดได้พบยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้แล้ว ท่านว่าเป็นบุญตัวอันประเสริฐนัก เมื่อพบแล้วให้พยายามท่องบ่นสวดภาวนาอยู่เป็นนิตย์ตราบเท่าชีวิต จนทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก แล้วก็จะไปยังเกิดในสัมปรายภพสวรรค์สุคติภพด้วยพระอานิสงส์เป็นแน่แท้

               ถ้าผู้ใดจะสวดขออานุภาพให้ผู้ป่วยไข้อาการจะดีขึ้น จะสวดแผ่กุศลอุทิศไปให้ บิดา มารดา หรือครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์ ผู้มีพระคุณของท่านแล้ว ให้เขียน จิ เจ รุ นิ และชื่อท่านนั้น ๆ ใส่กระดาษก่อนสวดทุกครั้ง เมื่อสวดกี่จบครบตามที่เราต้องการแล้วให้นำกระดาษนั้นเผาไฟ และกรวดน้ำโดยคารวะ บอกชื่อฝากพระแม่ธรณีนำกุศลอันนี้ให้ท่านผู้นั้นได้ตามความปรารถนาของเราทุกครั้ง  จะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวร  กิจการงานเจริญรุ่งเรือง อุดมด้วยโภคทรัพย์

                ผู้ใดอุทิศบุญกุศล อันเกิดจากการสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ให้ ปู่ย่า ตา ยาย บิดา มารดา บุตร หลาน ที่อยู่เบื้องหลังมีความเจริญรุ่งเรือง   บิดา มารดา จะมีอายุยืน   สามีภรรยา รักใคร่ดีต่อกัน บุตรหลานเป็นคนดี   ปฏิสนธิวิญญาณบุตรเกิดมาเฉลียวฉลาด ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดี  วิญญาณของบรรพบุรุษจะสู่สุคติภพ  เสริมบุญบารมีให้ตนเองให้แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ   เมื่อสิ้นอายุขัยจะไปสู่สุคติภูมิ  ขอตั้งสัตยาธิษฐาน ขอความเจริญรุ่งเรือง จงบังเกิดแก่ท่านผู้สร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ เพื่อความงอกงามในพระบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.



** คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

** คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
(กราบ ๑ หน)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ
(กราบ ๑ หน)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ
(กราบ ๑ หน)

** คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

** คำนมัสการไตรสรณคมน์ 

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

** คำนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ 

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม

๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะ โส ภะคะวา ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะ โส ภะคะวา ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วัจจะ โส ภะคะวา ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะ โส ภะคะวา ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะ โส ภะคะวา ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

๒.  อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ 
      อะระหันตัง สิระสา นะมามิ 
      สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
      สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ 
      วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ 
      วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ 
      สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ 
      สุคะตัง สิระสา นะมามิ 
      โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ 
      โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะ โส ภะคะวา 
     อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะ โส ภะคะวา 
     อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะ โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ 
     อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ 
     ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ 
     ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
     สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ 
     สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
     พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
     พุทธัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา  ทิยานะ สัมปันโน ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา  ทิยานะ สัมปันโน ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา  ทิยานะ สัมปันโน ฯ   
     อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

๗. อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
      อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
      อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
      อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
      อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
     อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
     อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
     อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
     อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน


๙. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญา  นาสัญญา 
     ยะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
     อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ เนวะสัญญา  นาสัญญา 
     ยะตะนะ อะรูปาวะจะระ  ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
     อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญา  นาสัญญา 
     ยะตะนะ อะรูปาวะจะระ  ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
       อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
       อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมา ทิยานะ  สัมปันโน 
       อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
 พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. อิติปิ โส ภะคะวา โสตา อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
        อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิ อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
        อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิ อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
        ชมภูทิปัจะอิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ 
        ปัญจะพุทธานะมามิหัง อาปามะจุปะที มะสังอังคุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะ สุ
        เหปาสา ยะ โสโส สะสะ อะอะ  อะอะ นิ  เตชะ สุเน มะภู  จะนา วิเว 
        อะสังวิ สุโร ปุสะ ภุพะ อิสะวา สุ สุ สะวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติวิอัตถิ 
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
       สาโพธิปัญจะ อิสะโรธัมมา 
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ 
        สุคะลาโนยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ จาตุมะหาราชิกา อิสะโรกุสะลาธัมมา 
        อิติวิชชา จะระณะสัมปันโน  อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
        ตาวะติงสา อิสะโรกุสะลาธัมมา นันทะปัญจะสุคะโตโลกะวิทู 
        มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
        ยามา อิสะโร กุสะลาธัมมา พรหมมา สัททะปัญจะ สัตตะ 
        สัตตา ปาระมีอะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ตุสิตา อิสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ 
        ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. นิมมานะระติ อิสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง 
        ตะถะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗.  ปะระนิมมิตตะอิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
         รูปะขันโธ พุทธะ ปะผะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. พรหมมา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง 
        สะระณัง คัจฉามิ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ 
        พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ 
        วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมมะสาวัง มะหาพรหมมะสาวัง 
       จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง   เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง 
        อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง   มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง 
        สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง  พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง 
        อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิ วิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา 
        อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ 
ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. สาวังคุณัง วะชะพะลังเตชัง วิริยังสิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขังคุย 
        หะกัง ทานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุงยัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง 
        จะตุวิสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ 
ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ 
        ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
        สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
        นะโม อิติปิโส ภะคะวา ฯ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ 
        วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ 
        วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ 
        วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ
        วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง ฯ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
         ยาวะตัสสะหาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
         อุอะมะอา วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระนะ 
         อาระ ปะขุธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ 
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง