วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทกราบพระรัตนตรัย, บทนมัสการพระรัตนตรัย, บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ


บทกราบพระรัตนตรัย


            อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
                พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง
                ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

            พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
                ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

            สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
                พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

            ธัมมัง นะนัสสามิ.
                ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)

            สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
                พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

            สังฆัง นะมามิ.
                ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์. (กราบ)

-----------------------------------------------------------------
บทนมัสการ พระรัตนตรัย

        * นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
                ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
           อะระหะโต, 
                ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
           สัมมาสัมพุทธัสสะ, 
                เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)

        *  นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
                ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
           อะระหะโต, 
                ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
           สัมมาสัมพุทธัสสะ, 
                เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)

        * นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต,
                ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
           อะระหะโต, 
                ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
           สัมมาสัมพุทธัสสะ, 
                เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ (กราบ)

-----------------------------------------------------------------
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ
อิติปิ โส ภะคะวา ( เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น )
อะระหัง ( เป็นผู้ไกลจากกิเลส )
สัมมาสัมพุทโธ ( เป็นผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง )
วิชชาจะระณะสัมปันโน ( เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ )
สุคะโต ( เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี )
โลกะวิทู ( เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง )
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ( เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า )
สัตถา เทวะมนุสสานัง ( เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย )
พุทโธ ( เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม )
ภะคะวาติ. ( เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ )

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ( พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว )
สันทิฏฐิโก ( เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง )
อะกาลิโก ( เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล )
เอหิปัสสิโก ( เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด )
โอปะนะยิโก ( เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว )
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. ( เป็นสิ่งที่ผู้รู้ พึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ ฯ )

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว )
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว )
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว )
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว )
ยะทิทัง ( ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ )
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา ( คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้แปดบุรุษ )
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ( นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า )
อาหุเนยโย ( เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา )
ปาหุเนยโย ( เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่จัดไว้ต้อนรับ )
ทักขิเณยโย ( เป็นผู้ควรได้รับทักษิณาทาน )
อัญชะลีกะระณีโย ( เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี )
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ. ( เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ )


พระรัตนตรัย หรือ พระไตรรัตน์ แปลว่า แก้ว ๓ ดวง, แก้ว ๓ อย่าง ที่เรียกว่า รัตนะ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี

พระรัตนตรัย  คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
                        ซึ่งเรียกเต็มว่า  พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
ซึ่งได้แก่
พระพุทธ คือ ท่านผู้ตรัสรู้ธรรมแล้วสอนให้ประชาชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ตาม พระวินัย ที่เรียกว่า พระพุทธเจ้า
พระธรรม คือ พระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์ คือ หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น