วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บาลี)



บทสวดมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (บาลี)





นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
( ๓ จบ )



บทนำ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร



อนุตตะรัง อภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง  สุตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ
เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค
หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข
อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ
มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ
สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต
สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ตะถาคะ เตนะ อะภิ สัมพุทธา
จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ
สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง
ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ฯ
ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา
ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ
กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ
จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี
ปะฏิปะทา อะริยะ สัจจัง ฯ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต
สัมมา อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณังอุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทมะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกาตัพพันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจจิกะตันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ
เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ
จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ
วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง
ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก
สะพรัหมะเก สัสสะมะณะ พราหมะณิยา
ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง
อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ
เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง
ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก
สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ
สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง
อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ
อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา
ชาติ นัตถิทานิปุ นัพภะโวติ ฯ

อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา
ภิขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ

อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน
อายัส มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง
ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง
สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก
ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย

อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง
สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา
มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิวา โลกัสมินติ ฯ

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ
ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะปาริสัชชา
เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย
อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิ วัตติยัง
สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ
วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

อิติหะเตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะพรัหมะโลกา
สัทโท อัพภุคคัจฉิ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี  โลกะธาตุ
สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ อัปปะมาโณ จะ
โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ ฯ

อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง
อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ
อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ
อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ
อิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ
อัญญาโกณฑัญโญ เตฺววะ นามัง อะโหสีติ ฯ

**************************************************
ธัมมจักกัปปวัตนสูตร 
**************************************************


หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี

ปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึง อริยสัจทั้ง 4 

คือ อริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

**** วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร


**** เนื้อหาในพระสูตร ****

เนื้อหาที่เป็นประเด็นหลักในพระพุทธพจน์ที่ปรากฏในธัมมจักกัปปวัตนสูตรโดยสรุปมีดังนี้

...ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน

ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริง

ในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่
ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่
ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่
ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลือยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ
อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่
(1) ความเห็นชอบ
(2) ความดำริชอบ
(3) วาจาชอบ
(4) การงานชอบ
(5) การเลี้ยงชีวิตชอบ
(6) ความเพียรชอบ
(7) ความระลึกชอบ
(8) ความตั้งจิตมั่นชอบ...

**** ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ****
กล่าวโดยสรุป ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แสดงถึง ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ อันได้แก่ "กามสุขัลลิกานุโยค" คือการหมกมุ่นอยู่ในกามศก และ "อัตตกิลมถานุโยค" คือการทรมานตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์

มัชฌิมาปฏิปทา คือปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปด
อริยสัจสี่ คือธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

***** ส่วนที่สุดสองอย่าง
ส่วนที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน (เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา) เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

***** ปฏิปทาทางสายกลาง
ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่
อริยมรรคมีองค์แปด คือ
ปัญญาเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
เจรจาชอบ (สัมมาวาจา)
การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ)
พยายามชอบ (สัมมาวายามะ)
ระลึกชอบ (สัมมาสติ)
ตั้งจิตชอบ (สัมมาสมาธิ)

***** อริยสัจสี่
อริยสัจสี่ ธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการคือ
* ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
* ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
* ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน
* ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด

***** อริยสัจสี่นี้ *****
* ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้.
* ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละเสีย
* ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง
* ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด ควรเจริญ

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

6 ความคิดเห็น:

  1. เพื่อดวงตาเห็นธรรม

    ตอบลบ
  2. บทสวดนั้น ทำให้เราได้เผยแผ่ คำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ให้แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย หรือแม้แต่ดวงวิญญาณต่างๆ ก็ได้สดับรับฟังธรรมะของพระพุทธองค์ การสวดนั้นมีทั้งผลดีและผลร้าย ถ้าเราสวดเล่นๆไม่ปฎิบัติอย่างจริงจัง จะเป็นผลร้าย แต่ถ้าเราปฎิบัติอย่างจริงจังและมีศิล มีธรรม ก็จะส่งผลอานิสงค์ผลบุญหนุนนำดี

    ตอบลบ
  3. แต่ที่ผมแปลกใจคือ บทสวด ยอดพระกัณไตรปิฎก บางสำนัก ก็สวดคำสวดอีกแบบ บางสำนัก ก็สวดคำสวดอีกแบบยกตัวอย่างเช่น

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา.

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะ โส ภะคะวา.

    ข้อแตกต่างคือ บทสวดสำนักแรกสวด วะตะ โส
    บทสวดสำนักที่สองสวด วัจจะ โส
    และยังมีอีกมากมายในคำสวดที่ไม่ตรงกัน สรุปแล้วบทสวดอันไหนถูก อันไหนผิด ทำให้คนสวดนั้นงง ไปตามๆกันครับ

    ตอบลบ