วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันมาฆบูชา (Makha Bucha Day)



              วันมาฆบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" เพราะเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงประทานหลักโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระธรรม แก่พระอรหันตสาวกผู้เป็นเอหิภิกขุทั้ง 1,250 องค์ ที่มาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายในวันมาฆปุรณมี

วันมาฆบูชา (บาลีมาฆปูชาอักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ ตามปฏิทินของอินเดียหรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าในปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4) หรือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 

ความสำคัญ "วันมาฆบูชา" ได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธเนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา โดยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ
1.      พระสงฆ์ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย
2.      พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง
3.      พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ
1.      อิทธิวิธิ               แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
2.      ทิพพโสต             มีหูทิพย์
3.      เจโตปริยญาณ      กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้
4.      ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
5.      ทิพพจักขุ            มีตาทิพย์
6.      อาสวักขยญาณ     รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป
อภิญญา 5 ข้อแรกเป็นของสาธารณะ (โลกียญาณ) ข้อ 6 มีเฉพาะในพระอริยบุคคล
ถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งหมายว่าผู้นั้นจะเป็นอริยบุคคล

4.      วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี (วันเพ็ญเดือนมาฆะ - ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)  ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

     ด้วยเหตุการณ์ประจวบกับ 4 อย่าง จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จาตุรงคสันนิบาต (มาจากศัพท์บาลี จตุ+องฺค+สนฺนิปาต แปลว่า การประชุมอันประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งสี่ประการ) โดยประชุมกัน ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว 9 เดือน (45 ปี ก่อนพุทธศักราช)




               ในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์  โดยพระอรหันต์ทั้งหลายนั้นต่างไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ อันเป็นที่ประทับ โดยมีคณะทั้ง 4 คือ คณะศิษย์ของชฎิล 3 พี่น้อง คือ คณะพระอุรุเวลกัสสปะ (มีศิษย์ 500 องค์) คณะพระนทีกัสสปะ (มีศิษย์ 300 องค์) คณะพระคยากัสสปะ (มีศิษย์ 200 องค์) และคณะของพระอัครสาวกคือคณะพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ (มีศิษย์ 250 องค์) รวมนับจำนวนได้ 1,250 รูป (จำนวนนี้ไม่ได้นับรวมชฎิล 3 พี่น้อง และพระอัครสาวกทั้งสอง)

              และมีผู้เข้าใจผิดว่าเหตุที่พระสาวกทั้ง 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายนั้น เพราะวันเพ็ญเดือน 3 ตามคติพราหมณ์เป็นวันพิธีมหาศิวาราตรีเพื่อบูชาพระศิวะ พระสาวกเหล่านั้นซึ่งเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน จึงได้เปลี่ยนจากการรวมตัวกันทำพิธีชำระบาปตามพิธีพราหมณ์  มารวมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน  แต่ความดิดนี้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เพราะพระศิวะเป็นเทพที่ชาวฮินดูเริ่มบูชากันในยุคหลังพุทธกาล คือตั้งแต่ พ.ศ. 800 เป็นต้นมา



ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ : พระพุทธเจ้าเมื่อทอดพระเนตรเห็นมหาสังฆสันนิบาตอันประกอบไปด้วยเหตุอัศจรรย์ดังกล่าว จึงทรงเห็นเป็นโอกาสอันสมควรที่จะแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" อันเป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแก่ที่ประชุมพระสงฆ์เหล่านั้น เพื่อวางจุดหมาย หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พระอรหันตสาวกและพุทธบริษัททั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์เป็นพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง ท่ามกลางมหาสังฆสันนิบาตนั้น มีใจความดังนี้
*       พระพุทธพจน์คาถาแรก ทรงกล่าวถึง พระนิพพาน ว่าเป็นจุดมุ่งหมายหรืออุดมการณ์อันสูงสุดของบรรพชิตและพุทธบริษัท อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ดังพระบาลีว่า "นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา"
*       พระพุทธพจน์คาถาที่สอง  ทรงกล่าวถึง "วิธีการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งปวงโดยย่อ" คือ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญแต่ความดี และการทำจิตของตนให้ผ่องใสเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง ส่วนนี้เองของโอวาทปาฏิโมกข์ที่พุทธศาสนิกชนมักท่องจำกันไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งคาถาในสามคาถากึ่งของโอวาทปาฏิโมกข์เท่านั้น
*       พระพุทธพจน์คาถาที่สาม ทรงกล่าวถึงหลักการปฏิบัติของพระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่เผยแผ่พระศาสนา 6 ประการ คือ
1.      การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)
2.      การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)
3.      ความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)
4.      ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)
5.      ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)
6.      ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันมาฆบูชา 
เดิมนั้นไม่มีการประกอบพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรมีการประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น  โดยการประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือมีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ มีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น โดยในช่วงแรกพิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป จนต่อมาความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร

ปัจจุบันวันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชน ทั้งพระบรมวงศานุวงศ์พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์  ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล

พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมนับถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญ  เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน ในการละเว้นความชั่ว บำเพ็ญความดี ทำใจให้ผ่องใส ตามแนวทางพระบรมพุทโธวาท โดยมีแนวปฏิบัติในการประกอบพิธีในวันมาฆบูชาคล้ายกับการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา คือมีการตั้งใจบำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตรฟังพระธรรมเทศนาและเจริญจิตตภาวนาในวันนี้ เมื่อตกกลางคืนก็มีการเวียนเทียนถวายเป็นพุทธบูชาตามอารามต่าง ๆ และอาจมีการบำเพ็ญปกิณณกะกุศลต่าง ๆ ตลอดคืนตามแต่จะเห็นสมควร

วันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และตลอดวันจะมีการบำเพ็ญบุญกุศลความดีอื่น ๆ เช่น ไปวัดรับศีล งดเว้นการทำบาปทั้งปวง ถวายสังฆทาน ให้อิสระทาน (ปล่อยนกปล่อยปลา) ฟังพระธรรมเทศนา และไปเวียนเทียนรอบโบสถ์ในเวลาเย็น

โดยก่อนทำการเวียนเทียนพุทธศาสนิกชนควรร่วมกันกล่าวคำสวดมนต์และคำบูชาในวันมาฆบูชา โดยปกติตามวัดต่าง ๆ จะจัดให้มีการทำวัตรสวดมนต์ก่อนทำการเวียนเทียน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมทำการเวียนเทียนอย่างเป็นทางการ (โดยมีพระภิกษุสงฆ์นำเวียนเทียน) ในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา โดยบทสวดมนต์ที่พระสงฆ์นิยมสวดในวันมาฆบูชาก่อนทำการเวียนเทียนนิยมสวด (ทั้งบาลีและคำแปล) ตามลำดับดังนี้
บทบูชาพระรัตนตรัย (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย:อรหัง สัมมา ฯลฯ)
บทนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (นะโม ฯลฯ ๓ จบ)
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย : อิติปิโส ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระพุทธคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย : องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย : สวากขาโต ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระธรรมคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย : ธรรมมะคือ คุณากร ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย : สุปฏิปันโน ฯลฯ)
บทสรรเสริญพระสังฆคุณ สวดทำนองสรภัญญะ (บทสวดสรภัญญะที่ขึ้นต้นด้วย : สงฆ์ใดสาวกศาสดา ฯลฯ)
บทสวดบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา (บทสวดบาลีที่ขึ้นต้นด้วย : อัชชายัง ฯลฯ



บทบูชาเนื่องในวันมาฆบูชา
ใช้ในวันมาฆบูชา
บทสวด
          อัชชายัง มาฆะปุณณะมี สัมปัตตา มาฆะนักขัตเตนะ ปุณณะจันโท ยุตโต ยัตถะ ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ จาตุรังคิเก สาวะกะสันนิปาเต
โอวาทะปาฏิโมกขัง อุททิสิ ตะทาหิ อัฑฒะเตระสานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง สัพเพ เต เอหิภิกขุกา สัพเพปิ เต อะนามันติตาวะ ภะคะวะโต สันติกัง อาคะตา เวฬุวะเน กะลันทะกะนิวาเป มาหะปุณณะมิยัง วัฑฒะมานะกัจฉายายะ ตัสมิญจะ สันนิปาเต ภะคะวาวิสุทธุโปสะถัง อะกาสิ อะยัง อัมหากัง ภะคะวะโต เอโกเยวะ สาวะกะสันนิปาโต อะโหสิ จาตุรังคิโก อัพฒะเตระสานิ ภิกขุสะตานิ สัพเพสังเยวะ ขีณาสะวานัง มะยันทานิ อิมัง มาฆะปุณณะมี นักขัตตะสะมะยัง ตักกาละสะทิสัง สัมปัตตา จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะระมานา อิมัสมิง ตัสสะ ภะคะวะโต สักขิภูเต เจติเย อิเมหิ ทีปะธูปะปุปผาทิสักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง ตานิ จะ อัฑฒะเตระสานิ
ภิกขุสะตานิ อะภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สะสาวะกะสังโฆ สุจิระปะรินิพพุโต คุเณหิ ธะระมาโน อิเม ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ 
คำแปล 
          วันนี้มาประจวบวันมาฆปุรณมี เพ็ญเดือน ๓ พระจันทร์เพ็ญประกอบด้วยฤกษ์มาฆะ ตรงกับวันที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ขึ้น ในที่ประชุมสาวกสงฆ์พร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ
          ครั้งนั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ ล้วนแต่เป็นพระขีณาสพ อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา ไม่มีผู้ใดเรียกมาประชุมยังสำนักพระผู้มีพระภาค ณ เวฬุวนาราม เวลาตะวันบ่ายในวันมาฆปุรณมีแลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ขึ้น ณ ที่ประชุมแห่งนั้น การประชุมสาวกสงฆ์ พร้อมด้วยองค์ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายนี้ ได้มีครั้งเดียวเท่านั้น พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ล้วนแต่พระขีณาสพ
          บัดนี้เราทั้งหลายมาประจวบมาฆปุรณมีนักขัตต์สมัยนี้ ซึ่งคล้ายกับวันจาตุรงคสันนิบาตนั้นแล้ว มาระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์นั้น ด้วยสักการะทั้งหลายมีเทียนธูปแลดอกไม้เป็นต้นเหล่านี้ ในเจดียสถานนี้ ซึ่งเป็นพยานของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น 
          ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยสาวกสงฆ์ แม้ปรินิพพานนานมาแล้วด้วยดี ยังเหลืออยู่แต่พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงทรงรับสักการะบรรณาการคนยากเหล่านี้ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ.
คาถาสวดในวันมาฆบูชา
มาฏะนักขัตตะยุตตายะ
ปุณณายะปุณณะมายัง โย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
ภะคะวา โคตะโมหะโย
สุทธานันตะทะยาญาโณ
สัตถา โลเก อะนุตตโร
วิหะรันโต ราชะคะเห
มาฆะทานัง ศีริพภะเย
วิหาเร เวฬุวะนัมหิ
กะลันทะกะนิวาปิเย
สังฆัสสะ สันนิปาตัมหิ
อุตตะเม จะตุรังคิเก
อัฑฒะเตระสะสะหัสเสหิ
ภิกขูหิ ปริวาริโต
ตีหิ คาถาหิ สังขิปปัง
สัพพัง พุทธานะสาสะนัง
สะโมสาเรหิ โอวาทัง
ปาฏิโมกขัง อนุตตะรัง
สะเมวัมภูตะสัมพุทธัง
สักขีณาสะวะสาวะกัง
จิระการะมะตี ตัมปิ
ปสาเทนะ อนุตตะรัง
อยัมปิ ปะริสา สัพพา
ปสันนา ธัมมะคามินี
สัมปัตตาตาทิสักการัง
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
ทีปะฑูปาทิสักกาเร
อะภิสัชชิ ยะถาผะลัง
เตหิ ปูเชตะเวหัตถะ
ตุฏฐา อิธะ สะมาคะตา
อภิวันทะติ ปุเชติ
ภะคะวันตัง สะสาวะกัง
กาเลนะ สัมมุขีภูตัง
อตีตารัมมะนัตตะนา
โอสาเรนตัง ปาฏิโมกขัง
วิสุทธักขะมุโปสะเถ
อิโตชะเน สุปุญเญนะ
โสตถี โหนตุ สะทาปิ โน
สาสะนัง สัตถุ อัมหากัง
จีรัง ติฏฐตุ ตาทิโน....ติ
บทขัดโอวาทปาฏิโมกข์
สัตตันนัง ภะคะวันตานัง
สัมพุทธานัง มะเหสินัง
โอวาทะปาฏิโมกขัสสะ
อุทเทสัตเตนะ ทัสสิตา
มะหาปะทานะสุตตันเต
ติสโส คาถาติ โน สุตัง
ตีหิ สิกขาหิ สังขิตตัง 
ยาสุ ทุทธานะสาสะนัง
ตาสัมปะกาสะกัง ธัมมะ- 
ปะริยายัง ภะณามะเส.
โอวาทะปาฏิโมกขาทิปาโฐ
          อุททิฏฐัง โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ
โอวาทะปาฏิโมกขัง ตีหิ คาถาหิ
 
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต
          สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
กุสะลัสสุปะสัมปะทา
          สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
เอตัง พุทธานะ สาสะนัง
          อะนูปะวาโท อนูปะฆาโต
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร
          มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง
          อะธิจิตเต จะ อาโยโค
เอตัง พุทธานะ สานะนันติ
          อะเนกะปะริยาเยนะ โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัมพุทเธนะ สีลัง สัมมะทักขาตัง สะมาธิ สัมมะทักขาโต ปัญญา สัมมะทักขาตา
 
          กถัญจะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. เหฏฐิเมนะปิ ปะริยาเยนะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ ปริยาเยนะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา.
กะถัญจะ เหฏฐิเมนะ ปริยาเยนะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา อิธะ อริยะสาวะโก ปาณาติปาตา ปะฏิวิระโต โหติ อทินนาทานา ปฏิวิระโต โหติ กาเมสุ มิจฉาจารา ปะฏิวิระโต โหติ มุสาวาทา ปะฏิวิระโต โหติ สาราเมระยะมัชชัปปะมาทัฏฐานา ปะฏิวิระโต โหตีติ. เอวัง โข เหฏฐิเมนะ ปะริยาเยนะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา. กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา อิธะ ภุกขุ สีลวา โหติ ปาฏิโมกขะสังวะระสังวุโต วิหะระติ
อาจาระโคจะระสัมปันโน อะณุมัตเตสุ วัชเชสุ ภะยะหัสสาวี สะมาทายะ สิกขะติ สิกขาปะเทสูติ เอวัง โข อุปะริเมนะ ปริยาเยนะ สีลัง สัมมะทักขาตัง ภะคะวะตา.
 
          กถัญจะ สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. เหฏฐิเมนะปิ ปริยาเยนะ สะมาธิ
สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อุปะริเมนะปิ ปริยาเยนะ สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา.  กถัญจะ เหฏฐิเมนะ ปริยาเยนะ สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อิธะ อริยะสาวะโก โวสสัคคารัมมะณัง กะริตวา ละภะติ สะมาธิง ละภะติ จิตตัสเสกัคคะ ตันติ. เอวัง โข เหฏฐิเมนะ ปริยาเยนะ สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา. อิธะ ภิกขุ วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัมปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สะมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ, สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา ปุพเพ วะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขา สะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระตีติ, เอวัง โข อุปะริเมนะ ปริยาเยนะ สะมาธิ สัมมะทักขาโต ภะคะวะตา.
 
          กถัญจะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา, เหฏฐิเมนะปิ ปะริยาเยนะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา, อุปะริเมนะปิ ปริยาเยนะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. กถัญจะ เหฏฐิเมนะ ปะริยาเยนะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. อิธะ อะริยะสาวะโก ปัญญะวา โหติ อุทะยัตถะคามินิยา ปัญญายะ สะมันนาคะโต อริยายะ นิพเพธิกายะ สัมมา ทุกขักขะยะคามินิยาติ. เอวัง โข เหฏฐิเมนะ ปริยาเยนะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. กะถัญจะ อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา. อิธะ ภิกขุ อิทัง ทุกขันติ ยะถาภูตัง ปะขานาติ  อะยัง ทุกขะสะมุทะโยติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. อะยัง ทุกขะนิโรโธติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. อะยัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทาติ ยะถาภูตัง ปะชานาติ. เอวัง โข อุปะริเมนะ ปะริยาเยนะ ปัญญา สัมมะทักขาตา ภะคะวะตา.
 
          สีละปะริภาวิโต สะมาธิ มะหัปผะโล โหติ มะหานิสังโส สะมาธิปะริภาวิตา ปัญญา
มะหัปผะลา โหติ มะหานิสังสา ปัญญาปะริภาวิตัง จิตตัง สัมมะเทวะ อาสะเวหิ วิมุจจติ. เสยยะทีทัง. กามาสะวา ภะวาสะวา อะวิชชาสะวา ภาสิตา โข ปะนะ ภะคะวะตา ปะรินิพพานะสะมะเย อะยัง ปัจฉิมะวาจา หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ. ภาสิตตัญจิทัง ภะคะวะตา เสยยะถาปิ ภิกขะเว ยานิ กานิจิ ชังคะลานัง ปาณานัง ปะทะชาตานิ สัพพานิ ตานิ หัตถิปะเท สะโมธานัง คัจฉันติ หุตถิปะทัง เตสัง อัคคะมักขายะติ ยะทิทัง มหันตัตเตนะ. เอวะเมวะ โข ภิกขะเว เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต อัปปะมาทะมูละกา อัปปะมาทะสะ โมสะระณา อัปปะมาโท เตสัง อัคคะมักขายะตีติ. ตัสมาติหัมเหหื สิกขิตตัพพัง ติพพาเปกขา ภวิสสามะ อะธิสีละสิกขาสะมาทาเน อะธิจิตตะสิกขาสะมาทาเน อะธิปัญญาสักขาสะมาทาเน อัปปะมาเทนะ สัมปาเทสสามาติ. เอวัญหิ โน สิกขิตัพพัง.

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดกิจกรรมในวันมาฆบูชา
          พุทธศาสนิกชนจะมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของวันมาฆบูชา รวมทั้งหลักธรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความตระหนักต่อความสำคัญของพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะชาวพุทธ และยังเป็นการช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้สืบต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย



1 ความคิดเห็น: