วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก


ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม 
            ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอม จารึกไว้ในใบลาน โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย
หลวงธรรมาธิกรณ์ (พระภิกษุแสง)ได้มาแต่พระแท่นศิลาอาสน์ มณฑลพิษณุโลก

            ประวัติต้นฉบับเดิมกล่าวว่า หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่าเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกเช้าค่ำแล้ว เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือน ก็ป้องกันอันตรายต่าง ๆ จะภาวนาพระคาถาอื่น ๆ สัก ๑๐๐ ปี อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธิ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษย์โลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่าภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้นอีกนานับปการ ฯ

             ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ญาติ-มิตรสหาย หรือสวดจนครบ ๗ วัน ครบอายุปัจจุบันของตน จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง จะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง ฯ

             ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละสามจบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละเจ็ดจบ กระดูกลอยน้ำได้



พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก 
             ก่อนเข้าห้องบูชาพระ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร

              จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุ


อานิสงส์การสร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นธรรมทาน
              โบราณท่านว่า ผู้ใดได้พบยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้แล้ว ท่านว่าเป็นบุญตัวอันประเสริฐนัก เมื่อพบแล้วให้พยายามท่องบ่นสวดภาวนาอยู่เป็นนิตย์ตราบเท่าชีวิต จนทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก แล้วก็จะไปยังเกิดในสัมปรายภพสวรรค์สุคติภพด้วยพระอานิสงส์เป็นแน่แท้

               ถ้าผู้ใดจะสวดขออานุภาพให้ผู้ป่วยไข้อาการจะดีขึ้น จะสวดแผ่กุศลอุทิศไปให้ บิดา มารดา หรือครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์ ผู้มีพระคุณของท่านแล้ว ให้เขียน จิ เจ รุ นิ และชื่อท่านนั้น ๆ ใส่กระดาษก่อนสวดทุกครั้ง เมื่อสวดกี่จบครบตามที่เราต้องการแล้วให้นำกระดาษนั้นเผาไฟ และกรวดน้ำโดยคารวะ บอกชื่อฝากพระแม่ธรณีนำกุศลอันนี้ให้ท่านผู้นั้นได้ตามความปรารถนาของเราทุกครั้ง  จะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวร  กิจการงานเจริญรุ่งเรือง อุดมด้วยโภคทรัพย์

                ผู้ใดอุทิศบุญกุศล อันเกิดจากการสร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ให้ ปู่ย่า ตา ยาย บิดา มารดา บุตร หลาน ที่อยู่เบื้องหลังมีความเจริญรุ่งเรือง   บิดา มารดา จะมีอายุยืน   สามีภรรยา รักใคร่ดีต่อกัน บุตรหลานเป็นคนดี   ปฏิสนธิวิญญาณบุตรเกิดมาเฉลียวฉลาด ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดี  วิญญาณของบรรพบุรุษจะสู่สุคติภพ  เสริมบุญบารมีให้ตนเองให้แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ   เมื่อสิ้นอายุขัยจะไปสู่สุคติภูมิ  ขอตั้งสัตยาธิษฐาน ขอความเจริญรุ่งเรือง จงบังเกิดแก่ท่านผู้สร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ เพื่อความงอกงามในพระบวรพระพุทธศาสนาสืบไป.



** คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

** คำนมัสการพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
(กราบ ๑ หน)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ธัมมัง นะมัสสามิ
(กราบ ๑ หน)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สังฆัง นะมามิ
(กราบ ๑ หน)

** คำนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

** คำนมัสการไตรสรณคมน์ 

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

** คำนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ 

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย
อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม

๑. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะ โส ภะคะวา ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะ โส ภะคะวา ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วัจจะ โส ภะคะวา ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะ โส ภะคะวา ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะ โส ภะคะวา ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

๒.  อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ 
      อะระหันตัง สิระสา นะมามิ 
      สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
      สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ 
      วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ 
      วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ 
      สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ 
      สุคะตัง สิระสา นะมามิ 
      โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ 
      โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะ โส ภะคะวา 
     อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะ โส ภะคะวา 
     อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะ โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ 
     อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ 
     ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ 
     ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
     สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ 
     สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
     พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
     พุทธัง สิระสา นะมามิ
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
     อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา  ทิยานะ สัมปันโน ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา  ทิยานะ สัมปันโน ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน ฯ 
     อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา  ทิยานะ สัมปันโน ฯ   
     อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
     ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน ฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

๗. อิติปิ โส ภะคะวา ยามา ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
      อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตา ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
      อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
      อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
      อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
     อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
     อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
     อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
     อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมะฌานะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน


๙. อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญา  นาสัญญา 
     ยะตะนะ อะรูปาวะจะระ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
     อิติปิ โส ภะคะวา วิญญานัญจายะตะนะ เนวะสัญญา  นาสัญญา 
     ยะตะนะ อะรูปาวะจะระ  ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
     อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญา  นาสัญญา 
     ยะตะนะ อะรูปาวะจะระ  ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
       อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน 
       อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมา ทิยานะ  สัมปันโน 
       อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปัตฏิมัคคะ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
 พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. อิติปิ โส ภะคะวา โสตา อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
        อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคามิ อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
        อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคามิ อะระหัตตะ ปัตฏิผะละ ธาตุสัมมา ทิยานะ สัมปันโน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
        ชมภูทิปัจะอิสสะโร กุสะลา ธัมมา นะโมพุทธายะ นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ 
        ปัญจะพุทธานะมามิหัง อาปามะจุปะที มะสังอังคุ สังวิธาปุกะยะปะ อุปะสะชะ สุ
        เหปาสา ยะ โสโส สะสะ อะอะ  อะอะ นิ  เตชะ สุเน มะภู  จะนา วิเว 
        อะสังวิ สุโร ปุสะ ภุพะ อิสะวา สุ สุ สะวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติวิอัตถิ 
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง อะอายาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
       สาโพธิปัญจะ อิสะโรธัมมา 
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ 
        สุคะลาโนยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ จาตุมะหาราชิกา อิสะโรกุสะลาธัมมา 
        อิติวิชชา จะระณะสัมปันโน  อุอุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
        ตาวะติงสา อิสะโรกุสะลาธัมมา นันทะปัญจะสุคะโตโลกะวิทู 
        มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
        ยามา อิสะโร กุสะลาธัมมา พรหมมา สัททะปัญจะ สัตตะ 
        สัตตา ปาระมีอะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ตุสิตา อิสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ ปุริสะทัมมะสาระถิ 
        ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. นิมมานะระติ อิสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถาเทวะมะนุสสานัง 
        ตะถะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗.  ปะระนิมมิตตะอิสสะโร กุสะลาธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
         รูปะขันโธ พุทธะ ปะผะยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. พรหมมา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง 
        สะระณัง คัจฉามิ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ 
        พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ 
        วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมมะสาวัง มะหาพรหมมะสาวัง 
       จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง   เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง 
        อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง   มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง 
        สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง  พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง 
        อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิ วิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา 
        อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ 
ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. สาวังคุณัง วะชะพะลังเตชัง วิริยังสิทธิกัมมัง นิพพานัง โมกขังคุย 
        หะกัง ทานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุงยัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง สิริรูปัง 
        จะตุวิสะติเสนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ 
ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ 
        ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
        สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
        นะโม อิติปิโส ภะคะวา ฯ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. นะโม พุทธัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ 
        วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ 
        วิญญาณะขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. นะโม ธัมมัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ 
        วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. นะโม สังฆัสสะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
        รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ
        วิญญาณะขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง ฯ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. นะโม พุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
         ยาวะตัสสะหาโย นะโม อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
         อุอะมะอา วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระนะ 
         อาระ ปะขุธัง มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ฯ 
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง



1 ความคิดเห็น:

  1. ผมอยากสอบถามนะครับ ว่า สรุปแล้วบทสวด อันไหนถูก อันไหนผิด บางเพจก็สวดบทสวดอีกแบบ บางเพจก็สวดอีกแบบ แล้วก็อ้างว่าต้นฉบับเดิม
    สรุปแล้วอันไหนคือต้นฉบับ เพราะคนสวดก็งงกันไปหมด ว่าสรุปสวดบทไหนถูก บทไหนผิดยกตัวอย่างเช่น

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะ โส ภะคะวา ฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะ โส ภะคะวา ฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วัจจะ โส ภะคะวา ฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะ โส ภะคะวา ฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะ โส ภะคะวา ฯ

    และนี้คืออีกบทสวดของอีกเพจ หรืออีกสำนักอื่นๆสวดกันครับ
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วะตะ โส ภะคะวา ฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วะตะ โส ภะคะวา ฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ สัมปันโน วะตะ โส ภะคะวา ฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วะตะ โส ภะคะวา ฯ
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วะตะ โส ภะคะวา ฯ

    เห็นไหมครับ ว่าข้อแตกต่างอยู่ที่ คำว่า วัจจะ โส และ วะตะ โส และยังมีอีกมากมายในคำสวดที่ไม่ตรงกัน ลองไปเปรียบเทียบดูนะครับว่าอันไหนถูกอันไหนผิด

    ตอบลบ