วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บทกราบพระรัตนตรัย


คำกล่าวนมัสการกราบพระรัตนตรัย
      เป็นการรำลึกถึงพระพุทธคุณเบื้องต้นก่อนสวดมนต์ บูชาพระ หรือทำพิธีการต่างๆ

อานิสงส์ของการสวดมนต์
  *  บำบัดทุกข์โศกโรคภัย รวมทั้งความรุ่มร้อนใจ
  *  ขจัดภัยอันตราย สิ่งชั่วร้ายที่จะพึงมี
  *  ปัดเป่าอุบาทว์ เสนียดจัญไร สิ่งอวมงคล
  *  ป้องกันภัยต่างๆ มีโจรภัย อัคคีภัย อสรพิษสัตว์ร้ายทั้งปวง
  *  ส่งเสริมให้เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ
  *  ให้แคล้วคลาดภัย ประสบความสวัสดี มีชัยเจริญงอกงามในชีวิต



***** บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, 
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ. (กราบ)
ข้าพเจ้าขออภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ,
ธัมมัง นะมัสสามิ. (กราบ)
ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระธรรม (กราบ)

สุปะฏิปปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ. (กราบ)
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

*****บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, 
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น
อะระหะโต, 
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ  
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง(กราบ)
(๓ จบ )

*****บทสวดพุทธานุสสติ
อิติปิโส ภะคะวา 
เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง 
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, 
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
วิชชาจะระณะ สัมปันโน, 
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุขโต 
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, 
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, 
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ 
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวาติ (กราบ)
เป็นผู้มีความเจริญ เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ดังนี้.

**** บทสวดธัมมานุสสติ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก, 
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, 
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก, 
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก, 
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ (กราบ)
เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตนดังนี้

**** บทสวดสังฆานุสสติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, 
ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา, 
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย,
ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย, 
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเนยโย, 
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย, 
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ (กราบ)
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่าดังนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น