วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

บทสวดมนต์อุปปาสันติ VDO Aubpatasanti



บทสวดมนต์อุปปาตะสันติ (มหาสันติงหลวง)

อ่านบทสวดมนต์และคำแปล  ได้ที่ : บทสวดมนต์อุปปาตะสันติ
อ่านประวัติของบทสวดมนต์อุปปาตะสันติ  ได้ที่ : ประวัติอุปปาตะสันติ มหาสันติงหลวง




พระคัมภีร์อุปาตะสันติ
            คัมภีร์นี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในหมู่ชนชาวล้านนามาแต่โบราณกาล  เรียกว่า “มหาสันติงหลวง”  เป็นบทสวดมนต์อย่างละเอียด  สรรเสริญพระนามของพระพุทธเจ้าและพระพุทธคุณ  พระธรรม  พระอริยสงฆ์ทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต  รวมตลอดไปถึงผู้ทรงคุณ  ทรงอำนาจ  ทรงฤทธิ์  เช่น  เทวดา  บทสวดมนต์นี้เป็นไปเพื่อขอความเป็นมงคล  ขับไล่ความชั่วร้าย  ความลำบากยุ่งยากทั้งปวงให้หมดไป  ย่ำยีกำลังของข้าศึกศัตรู  ก่อให้เกิดความสงบ  เป็นเครื่องป้องกันอมนุษย์และยักษ์  เป็นธรรมะให้พ้นจากความตายก่อนกำหนดเวลา  ประสงค์สิ่งใดก็จะได้สิ่งนั้น  คัมภีร์นี้มีอานิสงค์มากมายทั้งต่อผู้สวดและผู้ฟัง

พระคัมภีร์อุปาตะสันตินี้มี  ๒๗๑  พระคาถา  อันกล่าวสรรเสริญถึง
          เริ่มด้วยบท คันถารัมภา (คำเริ่มคัมภีร์)   หมวด ก - ง  จำนวน ๔ บท
๑.     พระพุทธเจ้าในอดีต  ๒๘  พระองค์              (พระคาถาที่ ๑-๕๘)
๒.    พระพุทธเจ้าในอนาคต  ๑  พระองค์             (พระคาถาที่ ๕๙)
๓.    พระปัจเจกพุทธเจ้า                                 (พระคาถาที่ ๖๐-๖๑)
๔.    โลกุตตรธรรม ๙ และปริยัติธรรม ๑              (พระคาถาที่ ๖๒-๖๓)
๕.     พระสังฆรัตนะ                                       (พระคาถาที่ ๖๔-๖๕)
๖.     พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่  ๑๐๘  รูป               (พระคาถาที่ ๖๖-๑๗๑)
๗.    พระมหาเถรีชั้นผู้ใหญ่  ๑๓  รูป                  (พระคาถาที่ ๑๗๒-๑๘๖)
๘.     พญานาค                                            (พระคาถาที่ ๑๘๗-๑๙๑)
๙.     เปรตบางพวก                                       (พระคาถาที่ ๑๙๒)
๑๐.อสูร                                                    (พระคาถาที่ ๑๙๓-๑๙๔)
๑๑.เทวดา ยักษ์ คนธรรพ์                              (พระคาถาที่ ๑๙๕-๒๑๔)
๑๒.นาค                                                   (พระคาถาที่ ๒๑๕-๒๑๖)
๑๓.ครุฑ                                                   (พระคาถาที่ ๒๑๗)
๑๔.เทวดา                                                (พระคาถาที่ ๒๑๘-๒๓๕)
๑๕.พรหม                                                 (พระคาถาที่ ๒๓๖-๒๕๑)
๑๖.บุคคลประเภทรวม – เทวดา ยักษ์ ปีศาจ วิชาธร    (พระคาถาที่ ๒๕๒-๒๕๓)
๑๗.อานุภาพแห่งพระรัตนตรัย                       (พระคาถาที่ ๒๕๔-๒๖๐)
๑๘.อานุภาพแห่งเทวดา                               (พระคาถาที่ ๒๖๑)
๑๙.อานุภาพของอุปปาตะสันติ                       (พระคาถาที่ ๒๖๒-๒๗๑)


     มรรค มีองค์ ๘  (มีปัญญาเห็นชอบ  ดำริชอบ  วาจาชอบ  การงานชอบ  เลี้ยงชีพชอบ  ความเพียรชอบ  ระลึกชอบ  ตั้งจิตชอบ)  คือ หนทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์  เมื่อย่อลงแล้วเหลือ  ๓  คือ  ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งปัญญาในองค์มรรคนี้แหละจะส่งผลไปเป็นนิโรธ  คือ  ดับตัวอวิชชา  (ความไม่รู้)  ซึ่งจะเกิดผลเป็นการดับตัณหาและดับทุกข์ได้ในที่สุด 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น